วันที่ 19 มีนาคม 2567 โรงเรียนสามเงาวิทยาคมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสามเงา ซึ่งในการประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมเกี่ยวกับข้อราชการที่แจ้งเพื่อทราบและปฏิบัติในการบริหารจัดการของกลุ่มโรงเรียนอำเภอสามเงา รวมทั้งการเลือกตั้งประธานชมรมคมครู และบุคลากรทางการศึกษาอำเภอสามเงา ซึ่งผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือ สิบตำรวจโทเฉลี่ย เจริญวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากทางเขื่อนภูมิพล ทางโรงเรียนสามเงาวิทยาคมขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายรัติน์พงษ์ สันตติภัค ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเงาวิทยาคมมอบหมายให้นางสาวรัชนก จินะตา ครูหัวหน้าโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา นำนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12-15 ปี เข้าร่วมกิจกรรม “โครงการอำเภอบูรณาการลดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง มุ่งสู่สร้างสุข โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือเครือข่ายการคบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ในเยาวชน เพื่อจำนวนลดนักดื่มหน้าใหม่ ณ หอประชุมโรงเรียนชุม
วันที่ 26 มกราคม 2567 นายรัติน์พงษ์ สันตติภัค ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเงาวิทยาคมมอบหมายให้ นายศิวพงษ์ กาวิน ผู้กำกับฯ ผู้ช่วยผู้กำกับฯ และนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนสามเงาวิทยาคมจำนวน 60 นาย ในการดำเนินกิจกรรม นศท.จิตอาสาร่วมสร้างแนวกันไฟ เพื่อสนับสนุนนโยบายการแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ในพื้นที่เขตป่าชุมชน บ้านท่าปุยตก อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดกิจกรรมนิทรรศการภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติประจำจัดกิจกรรมนิทรรศการภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติประจำปี 2566 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายในกิจกรรมประกอบด้วยป้ายนิทรรศการเทศกาลวันสำคัญในกิจกรรมประกอบด้วยป้ายนิทรรศการเทศกาลวันสำคัญสี่ภาษาการแข่งขันตะกร้อลูกขนไก่จีนร้านขายอาหารนานาชาติการแข่งขันวาดภาพคำศัพท์ภาษาเมียนมาร์และกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย
วันที่ 18-19 ธันวาคม 2566 นายรัติพงษ์ สันตติภัค ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเงาวิทยาคม มอบหมายให้ว่าที่ร.ต.วิโรจน์ ศรีสุข รองผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วย นายผดุงเกียรติ ปานแดง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ เข้าร่วมประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อพัฒนาสถานศึกษามัธยมศึกษารองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงสมรรถนะตามบริบทของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นต้นแบบ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ รัชดา จังหวัดกรุงเทพมหานคร